การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเผ่าพันธุ์มนุษย์เรามาก ถึงแม้ว่าดูระยะสั้นมันไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรเลย จริงที่ว่าในโลกนี้ยังมีเรื่องปัญหาปากท้อง ก่อการร้าย หรือโรคภัยไข้เจ็บอีกเยอะที่คนควรจะสนใจและแก้ปัญหามัน (ตอนนี้ก็มีคนใส่ใจไปทำพวกนี้เยอะแยะอย่าง Bill & Melinda Gates Foundation หรือ World Food Programme) แต่นี่มันเป็นเรื่องของระยะยาวและต้องมองมันในภาพใหญ่จริงๆ รู้สึกเสียดายที่คนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมัน
ถ้าย้อนกลับไปดูในประวัติของโลกนี้ ตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตมา มันมีเหตุการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) มาประมาณ 5 ครั้ง ตอนล่าสุดคืออุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลกในยุคไดโนเสาร์ (จริงๆเป็นอุกาบาตขนาดเล็กมาก ถ้าเปรียบขนาดโลกเท่ากับตึก 3 ชั้น อุกกาบาตที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์ุทั่วโลกมันมีขนาดเท่าลูกถั่วเม็ดนึง) ถ้าเราดูเหตุการสูญพันธ์ุตั้งแต่เริ่มแรกเราจะเห็นเป็นแนวโน้มว่าอีกไม่นานคงจะเกิดขึ้นอีก1
Credit: waitbutwhy.com
ที่จริงมีสิ่งอันตรายมากมายที่สามารถทำให้สัตว์โลกสูญพันธ์ุแบบทันทีทันใดได้ ไม่ว่าจะเป็นอุกาบาต, supernova, solar super flare, หลุมดำที่หลุดมา, โรคระบาด (epidemic) แบบที่ไม่ได้มีแฮปปี้เอ็นดิ้งเหมือนในหนัง Hollywood, หรือ superintelligence ซึ่งสิ่งพวกนี้มันเป็นภัยที่เกินเอื้อมมือมนุษย์เราแน่นอน เราเข้าไปแทรกแซงอะไรมากไม่ได้ โดยเฉพาะภัยจากอวกาศ
ถ้ารู้อย่างนี้เราก็ควรจะเตรียมตัวไว้หรือเปล่า?
ลองดูวิธีคิดที่ทำให้นึกภาพง่ายๆนะ...
เปรียบว่าโลกนี้เป็นคอมพิวเตอร์และสัตว์โลกรวมถึงมนุษย์เราเป็นข้อมูลต่างๆในฮาร์ดไดรฟ์ (เทียบว่าเวลาหนึ่งเดือนในเรื่องนี้เท่ากับเวลาจริง 50 ล้านปี) ตั้งแต่ที่เราซื้อคอมพ์เรามาตอนเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วฮาร์ดไดรฟ์มันพัง (crash) ไปแล้ว 5 รอบ ในเดือน สิงหาคม, กันยายน, ธันวาคม, มกราคม, และเมษายน พอรีบูตกลับมาข้อมูลหายไปประมาณ 70% ทุกครั้ง ยกเว้นตอนเดือนมกราคม ที่ข้อมูลหายไป 95%
แล้วตอนนี้คือปลายเดือนพฤษภาคมปีปัจจุบัน เอกสารชื่อ HomoSapiens.docx เพิ่งถูกสร้างเมื่อประมาณ 2 ชั่วโมงที่แล้ว คิดดู เรามีฮาร์ดไดรฟ์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลสำคัญมากๆพวกนี้ แล้วจากการที่เราเคยใช้งานคอมพิวเตอร์เรา เรารู้ว่าทุกๆ 2-3 เดือน ข้อมูล (i.e. สัตว์โลกทั้งหมด) จะหายไปประมาณ 70% โดยครั้งสุดท้ายที่มันพัง (i.e. การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่) คือตอนเมื่อเดือนกว่าๆที่แล้ว
เราควรจะทำอะไรหละ?
เราควรจะทำสำรองข้อมูล (back up) ไว้ใน external hard drive โดยเฉพาะไฟล์ HomoSapiens.docx
โครงการอวกาศต่างๆอย่าง NASA, ESA หรือโดยเฉพาะบริษัทเอกชน SpaceX นี่แหละที่จะเป็นตัวช่วย back up สายพันธุ์เราโดยการที่วางแผนจะเอามนุษย์ไปตั้งหลักปักฐาน สร้างอาณานิคมที่ดาวอังคาร (แล้วดาวอื่นๆอีกต่อไปในอนาคต) จริงอยู่ว่าดาวอังคารไม่ได้ปลอดภัยหรืออยู่อาศัยง่ายกว่าเลย (เรื่องความเป็นไปได้นี้ยังต้องทำวิจัยและคิดเทคโนโลยีใหม่ๆอีกเยอะ)
เค้ามีคิดที่จะส่งไปรอบละ 100-200 คน พอผ่านไปซัก 4-5 ทศวรรษ เทคโนโลยีเดินทางอวกาศจะดีขึ้นทำให้ส่งไปได้รอบละมากคนขึ้น และทำให้ตั๋วค่าไปถูกลง และหวังว่าอาณานิคมเล็กๆ จะกลายเป็นเมืองใหญ่ที่มีคนอยู่ซักล้านคน เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานบันเทิงต่างๆเหมือนโลกเรา
เท่านั้นเราก็ได้ทำ backup ของสายพันธุ์มนุษย์เราอย่างเสร็จสมบูรณ์ กลายเป็นสายพันธุ์ต่างดาวเคราะห์ (interplanetary species). นั่นแหละคือ “ก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (giant leap for mankind) ที่นีลอาร์มสตรองเคยพูดถึงอย่าแท้จริง ถ้าโลกโดนอะไรขึ้นมา มนุษย์เรายังคงมีดำรงอยู่ต่อไป
ในอนาคตเราอาจจะอยู่อาศัยบนดาวอังคารแบบนี้ก็เป็นได้
ถ้าจะถามว่าจะมีเหรอคนที่บ้าจะยอมทิ้งโลก ทิ้งบ้าน ทิ้งครอบครัวเพื่อที่จะไปอยู่ดาวอังคาร มีอยู่แล้ว ดูตอนปี ค.ศ. 1605 คนยุโยปที่เริ่มย้ายไปก่อตั้งอาณานิคมที่ทวิปอเมริกา (New World) มีน้อยคนมาก มีแต่พวกบ้าๆ ที่กล้าทิ้งบ้านเกิดตัวเอง ขายบ้านขายของเพื่อที่จะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ Jamestown หรือ Plymouth คนกลุ่มแรกที่จะไปดาวอังคารก็จะเป็นเหมือนกันนี่แหละ
ตอนแรกอาจจะไปอยู่ซัก 2 ปีก่อน2 แล้วคนเหล่านั้นก็จะกลับมาทำให้คนบนโลกรู้ว่าจริงๆแล้วการไปดาวอังคารไม่ใช่เป็นตั๋วขาไปอย่างเดียว เราก็เดินทางกลับได้
คนบนโลกจะเห็นบางคนกลับมากลายเป็นคนดังเพราะความกล้าหาญของเค้า บางคนอาจจะเขียนหนังสือยอดขายอันดับหนึ่ง บางคนอาจจะทำเป็น YouTube, รายการทีวี หรือภาพยนตร์ — คนก็เริ่มอยากจะไปมากขึ้น
คนบนโลกจะเห็นรูปถ่ายสวยๆจากการไปเดินขึ้นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ (Olympus Mons) ที่ทำให้ Mount Everest เป็นเหมือนกับเขาขนาบน้ำ หรือแคนย่อน Valles Marinaris ที่ทำให้ Grand Cayon กลายเป็นเหมือนคลองแห้ง — คนก็อยากจะไปมากขึ้น
คนบนโลกก็จะรู้ว่ากระโดดลงจากเหวสูง 6-7 เมตรลงมาได้โดยที่ไม่บาดเจ็บอะไรเลย และเห็นคลิป YouTube ของพวกกีฬาผาดโผนใหม่ๆที่เล่นได้โดยเฉพาะบนดาวอังคาร เพราะมีแรงโน้มถ่วงแค่เท่ากับ 38% ของโลก — คนก็อยากจะไปมากขึ้น
อีกอย่าง อาจจะมีระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น ที่ไม่มีรัฐบาลปกครองเลยก็เป็นได้ ทุกคนสามารถโหวตเรื่องต่างๆได้โดยตรง ทำให้บรรลุฉันทามติ (achieve consensus) ได้ง่ายขึ้น
แต่ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีปัญญาไปกลับได้ง่ายๆ ยังไงก็อาจจะต้องขายบ้านขายของเพื่อที่จะได้ไป เหมือนตอนที่คนเริ่มไปอยู่ที่อเมริกา แต่เรื่องพวกนี้จะทำให้คนตื่นตัวมากขึ้น เพราะมันมีความแปลกใหม่อยู่เยอะ แล้วคนก็อยากจะไปเป็นคนแรกที่ทำอะไรบนดาวอังคาร เช่น เปิดร้านส้มตำร้านแรก สนามฟุตบอลแห่งแรก เป็นคนแรกที่พิชิตยอดเขา Olympus Mons หรือเป็นคนแรกที่นำยางพาราไปขายตามที่ท่านนายกฯเคยกล่าวไว้
ส่วนเรื่องค่าตั๋วไปดาวอังคารมันแพงแน่นอน ก็เลยมีบริษัทที่พยายามทำให้การบินอวกาศถูกลง ตอนนี้แพงมากเพราะจรวจใช้ได้แค่ครั้งเดียวแล้วถูกโยนทิ้งหมด เขาเลยพยายามหาวิธีนำจรวจที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เพื่อที่จะช่วยลดต้นทุน (cost-per-launch) นึกดูว่าตอนเราบินจากกระบี่ไปกรุงเทพฯ เรานั่งเครื่องบินลำใหม่เอี่ยม พอถึงแล้วสายการบินโยนมันทิ้งทุกไฟล์ท แล้วมาสร้างลำใหม่สำหรับแต่ละไฟล์ท ค่าตั๋วมันคงจะแพงมากๆ
ภาพจำลองจรวด Falcon Heavy ที่จะนำออกมาใช้ปลายปี 2016 และสำหรับส่งยานอวกาศไปดาวอังคารในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า Credit: SpaceX
แน่นอนอยู่แล้วว่าสำหรับคนทั่วไปฟัง(อ่าน)ดูคงจะหัวเราะเยาะว่ามันเป็นเรื่องแค่ในนิยาย sci-fi, เพ้อฝัน, ไร้สาระ, ไม่มีทางเป็นไปได้, "บ้าหรือเปล่า มันไม่เกี่ยวกับเรา" แต่ลองนึกภาพดูว่าถ้าเราบอกคนสมัย 30-40 ปีก่อน ว่าในอนาคต เราจะสามารถคุยเห็นหน้ากับคนอีกฝั่งนึงของโลกได้โดยใช้แผ่นสี่เหลี่ยมในฝ่ามือแผ่นนึง เค้าก็คงจะหัวเราะเยาะเราเหมือนกัน เข้าใจว่ามองดูตอนนี้อาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราไม่กล้าคิดจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ Christopher Columbus คงจะไม่ได้ล่องเรือข้ามมหาสมุทรมาพบโลกใหม่ (New World), พี่น้องไรต์ (the Wright brothers) คงจะไม่ได้สร้างเครื่องบินลำแรก หรือสหรัฐอเมริกาคงจะไม่ได้ส่งคนไปเดินบนดวงจันทร์ คืออย่างที่กล่าวไว้ เรื่องนี้มันเป็นปัญหาระยะยาว มันอาจไม่ได้กระทบกับเราหรือลูกๆหลานๆหรือเหลนๆเราด้วยซ้ำ จะให้คนทุกคนมาสนใจก็คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ยังไงเราก็ควรที่จะมองเรื่องนี้ในมุมของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งหมด รวมถึงรุ่นต่อๆมาในอนาคต ไม่ใช่แค่ภายในช่วงชีวิตเราทุกๆครั้งที่เห็นรัฐบาลประเทศต่างๆหรือนักวิชาการออกมาบอกว่า...
เห้ย อย่าไปสนใจเรื่องโครงการอวกาศหรือไปสร้างอาณานิคมอยู่ดาวอังคารเลย เรามีปัญหาอีกตั้งเยอะแยะบนโลกเราที่เราต้องจัดการกับมัน
มันเหมือนกับพวกเขาบอกว่า...
เดี๋ยวเราค่อยดูแลสุขภาพทีหลัง ตอนนี้เราต้องทำงานผ่อนบ้านผ่อนรถให้หมดก่อน
คือยังไงมันก็ต้องมีเรื่องสำคัญที่ต้องเข้าไปดูแลก่อนอยู่แล้ว แต่ถ้ามัวแต่ไปใส่ใจเรื่องด่วนๆพวกนี้จนลืมคำนึงถึงเรื่องที่สำคัญในภาพใหญ่ ก็จะทำให้ความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ยิ่งสูงขึ้นไปอีก
เท่าๆที่เรารู้ โลกอาจจะเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในจักรวาลนี้ก็เป็นได้ คิดดูมันน่าเศร้านะที่ว่าดาวเคราะห์สีฟ้าลูกเล็กๆลูกนึงกลางอวกาศที่กว้างขวาง ไม่มีทางเลยที่ใครจะมาเจอได้โดยบังเอิญ ที่อุตส่าห์ได้โอกาศมีสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะ (consciousness) จะหายไปได้แค่ในพริบตา เหมือนชะตากรรมไดโนเสาร์และสัตว์พันธุ์อื่นๆสมัยก่อน
แล้วเราคิดว่ามนุษย์เรามันต่างกับสัตว์อื่นๆยังไงที่จะเป็นข้อยกเว้นจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กระทันหันที่หนีไม่พ้นนี้ได้...
อ้างอิงบางส่วนจาก waitbutwhy.com